เมนู

สัมมาทิฏฐิ 5



ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ 5 ประการ คือ วิปัสสนา-
สัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ
ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.

บรรดา สัมมาทิฏฐิ 5 ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมี
อาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.
ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตา-
สัมมาทิฏฐิ.

ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ 2 ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมา-
ทิฏฐิ
ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสำหรับผู้
มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.
อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ ไว้ในคำนี้ว่า " สัม-
มาญาณะ
ย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.

วาทะ 3



บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ เจ ภวํ ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี
ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.
บทว่า วสฺสภญฺญา ได้แก่ ชน 2 พวก คือ พวกวัสสะ และ
พวกภัญญะ.
บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มี
ปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า
เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ.

บทว่า นตฺถิกวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วย่อม
ไม่มีผล.
ชนผู้มีวาทะดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวลงแน่นอนในทัสสนะ 3
ประการเหล่านี้.
ถามว่า ก็การกำหนดแน่นอนแห่งทัสสนะเหล่านี้ มีได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็บุคคลผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้ นั่งในที่พักกลางคืนและที่พัก
กลางวัน สาธยายอยู่ พิจารณาอยู่ มิจฉาสติของบุคคลผู้นั้นย่อมตั้งมั่น ใน
อารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล เมื่อกายแตกย่อมขาดสูญ จิตของผู้นั้นย่อมมีอารมณ์เป็น
หนึ่ง ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในชวนะที่หนึ่ง ยังพอแก้ไขได้ ในชวนะ
ที่สองเป็นต้นก็ยังพอแก้ไขได้เหมือนกัน แต่ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ก็ทรงแก้ไขไม่ได้ เป็นผู้มีปกติไม่หวนกลับ เช่นกับภิกษุชื่อ
อริฏฐกัณฏกะ.
ในบรรดาทัสสนะเหล่านั้น บางคนก้าวลงสู่ทัสสนะเดียว บางคน 2
ทัสสนะ บางคน 3 ทัสสนะ จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการ
ห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับ
ต่อจากชาตินั้น จะป่วยกล่าวไปไยที่จะไปสู่พระนิพพาน สัตว์นี้ชื่อว่า เป็น
หลักตอแห่งวัฏฏะ เฝ้าแผ่นดิน โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มีการออก
ไปจากภพ แม้ชนพวกวัสสะและภัญญะก็ได้เป็นเช่นนี้.
บทว่า นินฺทาพฺยาโรสอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะกลัวตนจะ
ถูกนินทา ถูกกระทบกระทั่ง และถูกว่าร้าย. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้ง
นั้นแล.
จบ อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตรที่ 7

8. อานาปานสติสูตร



ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก



[282] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา
วิสาขามิคารมารดา
ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พร้อมด้วย
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่าน
พระมหาโมคคลัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่าน
พระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็
สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระ
เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ 10 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 20 รูป
บ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 30 รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน 40 รูป
บ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัด
ธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตนรู้มาก่อน.
[283] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ์ 15 ค่ำ
ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์
ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
คุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งยิ่งกว่าประมาณเถิด